กลุ่มประชากรต่าง ๆ ของ กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน

เด็ก

อาการขาดยาในเด็กเกิดใหม่ ซึ่งบางครั้งรุนแรง อาจเกิดเมื่อมารดาได้กินยาเบ็นโซไดอาเซพีนโดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3อาการรวมทั้งภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia), หยุดหายใจเป็นระยะสั้น ๆ, อาการเขียวคล้ำ (cyanosis), ปัญหาการตอบสนองทางเมแทบอลิซึมต่อความเย็นหนาว และการชักภาวะนี้รายงานว่าอาจคงยืนเป็น ชม. ๆ จนถึงเป็นเดือน ๆ หลังคลอด[155]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2009 แสดงว่า อาการขาดยาพบในหน่วยไอซียูเด็กในอัตราร้อยละ 20 หลังจากให้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนหรือโอปิออยด์เข้าเส้นเลือด[156]โอกาสการเกิดอาการมีสหสัมพันธ์กับระยะเวลาและขนาดที่ให้ แม้ระยะเวลาเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญกว่า[157]รักษาได้โดยลดให้ยาเป็นเวลา 3-21 วันถ้าการให้ยาดั้งเดิมเกินกว่าอาทิตย์[158]อาการรวมทั้งการสั่น, กายใจไม่สงบ, ไม่นอน, ร้องไห้อย่างปลอบไม่ได้, ท้องร่วง และเหงื่อออกรวม ๆ แล้ว งานทบทวนวรรณกรรมนี้ระบุอาการขาดยาเกิน 50 รายการ[156][159]

การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยอาการเด็กเกิดใหม่ที่มีอาการขาดยารุนแรงไม่มีผล แต่การให้ที่นอนซึ่งเงียบช่วยในกรณีเบา ๆ[156]

การตั้งครรภ์

การหยุดยาเบ็นโซไดอาเซพีนหรือยาแก้ซึมเศร้าทันทีเพราะเป็นห่วงเรื่องผลก่อวิรูป (teratogenic effects) ต่อเด็ก เสี่ยงก่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงไม่แนะนำยกตัวอย่างเช่น การหยุดยาเบ็นโซไดอาเซพีนหรือยาแก้ซึมเศร้าอย่างกะทันหันเสี่ยงก่ออาการขาดยาที่รุนแรงสูง รวมทั้งคิดฆ่าตัวเอง และการคืนอาการแบบเด้ง (rebound) ของสภาพโรคที่มีอยู่แล้วซึ่งอาจทำให้ต้องเข้า รพ. หรืออาจถึงฆ่าตัวตายงานศึกษาหนึ่งรายงานมารดา 1/3 ที่หยุดยากะทันหันหรือลดยาอย่างรวดเร็วได้คิดฆ่าตัวตายอย่างฉับพลันเพราะอดทนต่ออาการไม่ได้หญิงคนหนึ่งให้แพทย์ทำแท้งเพราะรู้สึกว่าไม่สามารถรับมือได้ อีกคนหนึ่งใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อรับมือกับอาการขาดยาเนื่องกับเบ็นโซไดอาเซพีนการแท้งเองอาจเกิดจากการหยุดยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทรวมทั้งเบ็นโซไดอาเซพีนงานศึกษานี้รายงานว่า แพทย์ทั่วไปไม่สำนึกถึงผลรุนแรงของการหยุดยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างกะทันหัน ยาเช่นเบ็นโซไดอาเซพีนหรือยาแก้ซึมเศร้า[77]

คนชรา

งานศึกษาหนึ่งในคนชราพบว่า คนแก่ที่ติดยาเบ็นโซไดอาเซพีนสามารถเลิกได้โดยมีภาวะแทรกซ้อนน้อย และอาจทำให้นอนหลับและทำงานทางประชานได้ดีขึ้นหลังจากเลิกยาสำเร็จ 52 สัปดาห์ ร้อยละ 22 มีสถานะทางประชานที่ดีขึ้น และเข้าสังคมได้ดีขึ้นส่วนผู้ที่คงใช้ยามีสมรรถภาพทางประชานที่ลดลงในระดับร้อยละ 5 ซึ่งเร็วกว่าความเสื่อมที่พบในความชราธรรมดา ๆ ซึ่งแสดงนัยว่า การใช้ยานานเท่าไร ก็ทำให้มีผลไม่ดีทางประชานเท่านั้นอาการบางอย่างแย่ลงหลังงดยาในระยะ 2-3 เดือนแรก แต่เมื่อติดตามในสัปดาห์ที่ 24 ก็พบว่าคนไข้ดีขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับคนที่ยังคงใช้ยาการนอนหลับที่ดีขึ้นเห็นเมื่อติดตามในสัปดาห์ที่ 24 และ 52[160]

ผู้ทำงานวิจัยสรุปว่า เบ็นโซไดอาเซพีนไม่มีประสิทธิภาพสำหรับปัญหาการนอนหลับในระยะยาวยกเว้นเพื่อระงับการนอนไม่หลับแบบเด้งเนื่องกับการขาดยาอาการหลายอย่างดีขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 24-52 รวมทั้งนอนหลับดีขึ้นโดยสมรรถภาพทางประชานและการทำงานหลายอย่างก็ดีขึ้นด้วยแต่สมรรถภาพทางประชานบางอย่างที่ไวต่อทั้งเบ็นโซไดอาเซพีนและอายุ เช่น ความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) ไม่ดีขึ้นแต่ผู้ทำงานวิจัยก็ได้อ้างงานศึกษาในคนไข้ที่มีวัยอ่อนกว่าซึ่งเมื่อติดตามที่ 3.5 ปี ก็ไม่ปรากฏปัญหาความจำ จึงคาดว่า การทำงานทางความจำบางอย่างต้องใช้เวลาคืนสภาพจากการใช้เบ็นโซไดอาเซพีนเป็นเวลานาน และสมรรถภาพทางประชานของคนชราอาจดีขึ้นอีกเกิน 52 สัปดาห์หลังจากเลิกยาเหตุผลที่ใช้เวลาถึง 24 อาทิตย์ก่อนจะดีขึ้นหลังเลิกยาก็เพราะสมองต้องใช้เวลาปรับตัวกับภาวะแวดล้อมที่ไร้ยา[160]ดังนั้น ในอาทิตย์ที่ 24 จึงพบว่าอาการดีขึ้นอย่างสำคัญ รวมทั้งประมวลข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้น เทียบกับผู้ที่คงใช้ยาซึ่งแย่ลงยังพบอาการที่ดีขึ้นอีกในอาทิตย์ที่ 52 รวมทั้งงดยาได้ดีขึ้นคนกินยาที่อายุน้อยกว่าแม้ประสบปัญหาความจำเมื่อจินตนาการรูปใน 2-3-4 มิติ (visual spatial memory) แต่ก็ไม่อ่อนแอต่อปัญหาทางประชานเท่าคนชรา[160]

ปฏิกิริยาที่ว่องไวกว่าก็พบด้วยในคนชราที่งดยาเมื่อติดตามที่ 52 สัปดาห์ซึ่งสำคัญ โดยเฉพาะถ้าขับรถเพราะเสี่ยงอุบัติเหตุรถยนต์ยิ่งขึ้นเมื่อกินยา[160]เมื่อติดตามในสัปดาห์ที่ 24 ร้อยละ 80 ได้งดยาอย่างสำเร็จแล้วความสำเร็จส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ยาหลอกเป็นส่วนของการทดลอง ซึ่งระงับการติดยาทางใจเมื่อคนไข้ชรารับรู้ว่า ได้เสร็จสิ้นการค่อย ๆ ลดยาตั้งแต่หลายอาทิตย์ที่แล้ว โดยต่อจากนั้นได้กินเพียงแต่ยาหลอกซึ่งช่วยให้กำลังใจว่า สามารถนอนหลับโดยไม่ใช้ยา[160]ผู้ทำงานวิจัยเตือนถึงความคล้ายคลึงกันทางเภสัชวิทยาและทางกลไกการออกฤทธิ์ของยาใหม่กลุ่ม z-drugs ที่ไม่ใช่เบ็นโซไดอาเซพีน[160]

ครึ่งชีวิตของไดแอซิแพมและ chlordiazepoxide ตลอดจนของเบ็นโซไดอาเซพีนมีครึ่งชีวิตยาวอื่น ๆ จะยืดออกเป็นสองเท่าในคนชราเทียบกับคนที่อายุน้อยกว่าดังนั้น แพทย์ควรสำนึกถึงและปรับขนาดของยาตามอายุของคนไข้ชรา[161]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน http://thebrain.mcgill.ca/flash/a/a_01/a_01_m/a_01... http://us.gsk.com/products/assets/us_wellbutrinXL.... http://www.rocheusa.com/products/romazicon/pi.pdf http://archive.wikiwix.com/cache/20110915105636/ht... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10220122 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/103443 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10418790 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10512781 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10591888 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10623971